วิปัสสนากรรมฐานเป็นวิชาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ และเป็นศาสตร์เดียวที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องหลุดพ้นไปจากอำนาจการครอบงำของอาสวะกิเลส ตั้งแต่เบาบางจนกระทั่งหมดจด ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
วิปัสสนา มาจากคำว่า "วิ + ปัสสนา"
วิ แปลว่า แจ้ง, จริง, วิเศษ
ปัสสนา แปลว่า เห็น (ปัญญา)
เมื่อกล่าวโดยความหมาย คือ
๑. ปัญญาเห็นแจ้ง เห็นชัด รูป-นาม, อริยสัจจ์
๒. ปัญญาเห็นโดยอาการต่างๆ มีเห็นไตรลักษณ์, ปฏิจจสมุปบาท
๓. ปัญญาเห็นแปลกประหลาด (อัศจรรย์ในสิ่งที่ได้เห็นในขณะปฏิบัติ)
กรรมฐาน มาจากคำว่า "กรรม + ฐาน"
๑. กรรม หมายถึง การกระทำ ในที่นี้มุ่งหมายเอาการบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ เพื่อฝึกฝน อบรม ขัดเกลา กำจัดกิเลส อันเป็นสาเหตุหลักของความทุกข์ทั้งหลาย
๒. ฐาน หมายถึง ที่ตั้ง ในที่นี่มุ่งหมายเอาอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งได้แก่ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, ปฏิจจสมุปบาท ๑๒, และอริยสัจ ๔ เพื่อเป็นฐานหรือที่ตั้งในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (กายานุปัสสนา, เวทนานุปัสสนา, จิตตานุปัสสนา, ธรรมานุปัสสนา)
วิธีสมาทานศีลและขึ้นพระกรรมฐาน
๑. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เตรียมกายและจิตใจให้พร้อม
๒. เตรียมดอกไม้ธูปเทียน (ถ้ามี) เพื่อขอสมาทานศีลและขึ้นพระกรรมฐาน
๓. แต่งกายสุภาพ (ชุดขาว) กิริยาท่าทางสำรวม ไม่ควรพูดคุยกัน
๔. เมื่อถึงที่ขึ้นกรรมฐานกราบพระรัตนตรัยด้วยเบญจางค์ประดิษฐ์ ๓ ครั้ง จากนั้นกราบพระอาจารย์อีก ๓ ครั้ง ประเคนพานดอกไม้ธูปเทียน เสร็จแล้วกล่าวคำสมาทานศีล ๘ ดังนี้...
๕. มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
( ถ้าคนเดียวว่า อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามิ ) (ทุติยัมปิ, ตะติยัมปิ, ก็ว่าเช่นเดียวกัน)
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
๖. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว นโม ตัสสะฯ ๓ จบ จากนั้นให้กล่าวตาม ๓ จบ
๗. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว ไตรสรณคม ให้กล่าวตามว่า
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
เมื่อกล่าวตามจบแล้ว พระอาจารย์จะกล่าวว่า “ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง”
ให้กล่าวรับว่า “อามะ ภันเต”
๘. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว สิกขาบท ๘ ข้อ ให้กล่าวตามเป็นข้อๆ ดังนี้....
๙. (๑) ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นฆ่า
(๒) อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นลักขโมย
(๓) อะพรัหมจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการประพฤติผิดอันมิใช่พรหมจรรย์
(๔) มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการพูดคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ
(๕) สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการดื่มสุรา และสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิด
(๖) วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงวันจนกระทั่งถึงวันใหม่
(๗) นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะณะ วิภูสะณัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการฟ้อนร่ำขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นต่างๆ ตลอดจนลูบไล้ ทัดทรงด้วยการประดับตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทาทุกชนิด
(๘) อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี
๑๐. กล่าวคำมอบกายถวายตัวต่อพระรัตนตรัย ดังนี้
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอมอบกายถวายชีวิต ต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
๑๐. กล่าวคำถวายตัวเป็นศิษย์ต่อพระอาจารย์
อิมาหัง อาจะริยะ อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัว ต่อพระอาจารย์ เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
๑๑. กล่าวคำขอพระกรรมฐาน
นิพพานัสสะ เม ภันเต สัจฉิกะระณัตถายะ กัมมัฏฐานัง เทหิ
ข้าแต่ท่านพระอาจารย์ผู้เจริญ ขอท่านจงให้ซึ่งวิปัสสนากรรมฐาน แก่ข้าพเจ้าเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรค ผล นิพพาน ณ ปัจจุบันกาลนี้ด้วย เทอญ
๑๒. ตั้งความปรารถนา
อิมายะ ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา รัตตะนะตะยัง ปูเชมิ
ข้าพเจ้าขอบูชาพระรัตนตรัย ด้วยการปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรมนี้ และด้วยสัจวาจาที่ได้กล่าวอ้างมานี้ ขอให้ข้าพเจ้ามีความเพียรในการกำหนดอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถบรรลุผลสมปรารถนา ในเวลาอันไม่ช้าด้วย เทอญฯ
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
การยืนกำหนด
ก. หลักการปฏิบัติ
ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปะชานาติ. ยืนอยู่ ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้ายืนอยู่
ข. วิธีการปฏิบัติ๑. ยืนตัวตั้งตรง คอตรง มือไขว้กันไว้ข้างหลัง
๒. ลืมตาเพียงครึ่งเดียว ทอดสายตาไปไกลประมาณ 2-3 เมตร
๓. สติระลึกรู้อาการยืน คือร่างกายที่ตั้งตรงกำหนดว่า "ยืนหนอ" ๓ ครั้ง
๔. ขณะที่บริกรรมในใจว่า "ยืนหนอ" ต้องรู้สึกตัวว่า ตนเองยืนอยู่จริงๆ
๕.จิตแนบแน่นกับความรู้สึกถึงอาการตั้งตรงของร่างกาย ควบคู่กับคำบริกรรม
ค. สิ่งที่พึงเว้นขณะกำหนดอาการยืน
๑. ไม่ควรหลับตา หรือสอดส่ายสายตาเพื่อหาอารมณ์อื่นๆ
๒. ไม่ควรก้มจนเกินไป หรือแหงนหน้ามองสิ่งอื่นๆ โดยไม่จำเป็น
๓. ไม่กำหนดอาการพอง-ยุบ (เว้นไว้แต่กรณีที่จำเป็นเท่านั้น)
๔.ไม่เพ่งดูสัณฐานบัญญัติส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เช่น ปลายเท้า หัวเข่า หน้าท้องตรงสะดือ หน้าอก ศีรษะ หน้าผาก ปลายผม เป็นต้น ที่ถูกแล้วควรกำหนดรู้เพียงแค่อาการหรือความรู้สึกตัวขณะที่ยืนอยู่เท่านั้น
อิริยาบถเดิน
การเดินจงกรม
ความหมาย การเดินจงกรมไม่ใช่การเดินชมธรรมชาติหรือเดินเพื่อการผ่อนคลายร่างกายหรือจิตใจ แต่การเดินจงกรมหมายถึง การเดินไปและเดินกลับอย่างมีสติ เพื่อปรับแต่งอิริยาบถฯ และอินทรีย์ให้มีความเสมอกัน
ก. หลักการปฏิบัติ
คัจฉันโต วา คัจฉามีติ ปะชานาติ.
เดินอยู่ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้าเดินอยู่
ข. วิธีปฏิบัติ
๑. สายตาเตรียมไว้มองไกลประมาณ ๒ - ๓ เมตร
๒. จิตจดจ่ออยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของเท้าสติกำหนดรู้
๓. คำบริกรรมในใจกับอาการเคลื่อนไหวต้องไปพร้อมกัน
๔. ขณะที่เดินอยู่ ถ้ามีสภาวธรรมอย่างอื่นที่ชัดเจนมากกว่าแทรกเข้ามา ควรหยุดกำหนดอาการเดินชั่วคราว จากนั้นตั้งใจกำหนดอารมณ์ที่แทรกเข้ามานั้น จนกระทั่งดับไป เสื่อมไป หรือไม่ชัดเจนแล้วจึงค่อยกลับมากำหนดอาการเดิน ต่อไป
๕. เดินช้า ๆ แต่อย่าบังคับมาก จิตใจจดจ่อ มีสติกำหนดรู้อย่างต่อเนื่อง
ค.สิ่งที่ควรจะงดเว้นขณะเดินจงกรม
๑. ไม่นิยมหลับตา หรือสอดส่ายสายตาเพื่อหาอารมณ์
๒. ไม่ควรก้มมากเกินไป หรือจดจ้องจนปวดต้นคอ
๓. ไม่เชิดหน้า หรือเดินแกว่งแขน
๔. ไม่เกร็งเท้าหรือขาจนเกินไปในขณะเดิน
๕. ไม่บริกรรมสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ตรงกับสภาวะของการเดิน
๖. ไม่เพ่งสัณฐานบัญญัติของเท้า หรือกำหนดพอง-ยุบ
ง. ข้อยกเว้นบางกรณี
๑. เดินเร็ว ๆ เพื่อแก้ความง่วง
๒. เดินช้ามาก ๆ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิและเห็นการเกิดดับชัดเจน
๓. ออกเสียงหรือบริกรรมด้วยวาจา เป็นการฝึกให้รู้วิธีปฏิบัติเท่านั้น
๔. เดินมองธรรมชาติเพื่อแก้สภาวะบางอย่าง
๕. ทำกายบริหารเพื่อการผ่อนคลายเป็นบางครั้ง
วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๑
( ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ )
ให้กำหนดรู้อาการยืนก่อน ๓ ครั้ง ตามองไปไกลประมาณ ๒ เมตร ลำตัวตั้งตรง คอตรง ลืมตาเพียงครึ่งเดียว มือไขว้หลังจากนั้นเอาสติไปจับที่เท้าซ้าย หรือขวาก็ได้แล้วแต่ความถนัด ขณะบริกรรมในใจว่า ขวา จิตจะจดจ่อที่เท้าขวา เข่างอนิดหน่อยอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะเดิน ไม่นิยมยกเท้า เพราะจะไปซ้ำกับระยะต่อไป ขณะบริกรรมในใจว่า ย่าง เท้าต้องเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ขาและเข่าตรง ขณะบริกรรมในใจว่า หนอ เท้าต้องหยุดการเคลื่อนที่โดยทันที ขณะที่เท้าเคลื่อนที่ไปข้างหน้าน้ำหนักตัวจะถูกถ่ายเทไปยังเท้าอีกข้างหนึ่งซึ่งอยู่ตรงกันข้าม เช่น ขวาย่างหนอ การรับน้ำหนักจะอยู่ที่เท้าด้านซ้าย ในขณะที่เท้าซ้ายเคลื่อนไป น้ำหนักจะอยู่ที่เท้าด้านขวา ส่วนของการเดินในระยะต่อ ๆ ไป การถ่ายเทน้ำหนักตัวก็มีลักษณะเหมือนกัน
ในทีนี้นักปฏิบัติไม่ต้องแยกคำบริกรรมเป็น ๓ ช่วง เช่น ขวา, ย่าง, หนอ เพราะจะทำให้ไปซ้ำกับการเดินในระยะที่ ๓ คำบริกรรมต้องเนื่องกันไป จนการเคลื่อนที่ไปของเท้าสิ้นสุดลง การเดินในระยะนี้จะเกิดการผ่อนคลายได้ดี และใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด อย่าพยายามบังคับให้ช้าหรือเร็วจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เกร็ง ตึง และเครียดมากจนเกินไป การเดินในระยะนี้จะไม่ช้ามากนัก เพราะเป็นการกำหนดรู้เพียงอาการเคลื่อนไหวของเท้าเท่านั้น ถ้าบังคับมากจนเกินไป อาจจะไม่ส่งผลดีแก่นักปฏิบัติเท่าที่ควร
การเดินในระยะนี้จะมีความรู้สึกผ่อนคลายค่อนข้างมาก ถ้าเดินแล้วเครียดหรือรู้สึกกดดันมากควรจะพิจารณา หรือเฝ้าสังเกตดูให้ดีว่าเกิดจากสาเหตุใด เช่น จ้องมากเกินไป เพ่งมากเกินไป บังคับการเดินให้ช้าเกินสภาพความเป็นจริง เพื่อสนองความต้องการของตน หรืออยากให้ได้ให้เป็นตามที่วิปัสสนาจารย์แนะนำมากเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่สอดคล้องกับสภาพความจริงที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ประเด็นเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเครียดหรือกดดัน เมื่อทราบแล้วค่อยๆ แก้ไข ผ่อนคลายความรู้สึกเหล่านั้น พยายามกำหนดให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติของแต่ละบุคคล จะทำให้การปฏิบัติของท่านก้าวหน้าและดียิ่งขึ้น
การเดินในจังหวะที่ ๑ อาจใช้เวลานานหลายวัน ไม่ใช่เพียงวันเดียวอย่างที่บางท่านเข้าใจ การขึ้นหรือเพิ่มระยะใหม่จริงๆแล้วต้องคำนึงถึงสภาวะญาณที่หยั่งรู้รูปนามตามความเป็นจริงคือ สามารถแยกรูป–นามออกจากกันได้ (นามรูปปริเฉทญาณ) อย่างชัดแจ้ง จึงจะเพิ่มระยะของการเดินและการกำหนดให้ เพื่อต้องการให้นักปฏิบัติเข้าใจในวิธีปฏิบัติจากนั้นก็นำไปปฏิบัติกันเอง โดยพยายามบ่มเพาะสติปัญญากันไปเรื่อยๆ บ่อยๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดญาณหยั่งรู้ด้วยตนเองอย่างชัดแจ้ง จึงค่อยเพิ่มระยะในการเดินต่อไป เพื่อมิให้เกิดข้อผิดพลาดวิปัสสนาจารย์จะต้องตรวจสอบด้วยการซักถามอย่างละเอียด และนักปฏิบัติก็ต้องตอบตามความเป็นจริงในขณะปฏิบัติ ห้ามจำจากหนังสือหรือจากผู้อื่นมาตอบ ถ้าเป็นเช่นนี้ชื่อว่าไม่รักษาประโยชน์ตน โอกาสในการบรรลุธรรมของท่านก็จะน้อยลงไป ใส่ใจสักนิด อย่าทำผิดด้วยการโกหกตนเอง
วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๒
( ยกหนอ เหยียบหนอ )
เมื่อกำหนดอาการยืน และต้นจิต คือ อยากเดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอาจิตไปกำหนดอาการยกของเท้าซ้ายหรือขวาก็ได้ ในขณะที่เท้ายกขึ้นกำหนดว่า “ยกหนอ” การกำหนดหนอนั้นให้พร้อมกับการสิ้นสุดลงของการยก ข้อสำคัญไม่ควรที่จะยกเท้าสูงจนกระทั่งเลยข้อเท้าขึ้นไป หรือก้าวเท้ายาวจนเกินไป ขณะปล่อยเท้าลงวางแนบกับพื้นกำหนดว่า “เหยียบหนอ” พร้อมกับการสิ้นสุดของการเหยียบ การเดินในระยะที่ ๒ นี้ จุดสำคัญที่ต้องเอาใจใส่อยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของการยกและเหยียบ ถึงแม้จะมีความรู้สึกขณะวางเท้าลงเหมือนมีการเคลื่อนตัวไปข้างหน้านิดหน่อย แต่นักปฏิบัติไม่ต้องเอาใจใส่ ให้มนสิการแต่เพียงอาการยกและเหยียบเท่านั้น
การเดินจงกรมในจังหวะนี้บางท่านมีความรู้สึกว่าอึดอัด ไม่เป็นธรรมชาติวิปัสสนาจารย์บางท่าน จึงแนะนำให้นักปฏิบัติผ่านไปเดินในจังหวะที่ ๓ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ถ้าใส่ใจอย่างระมัดระวัง และแยบคาย ( โยนิโสมนสิการ ) สักหน่อย ท่านจะค้นพบธรรมชาติอย่างวิเศษของการเดินในระยะนี้ เพราะมีความถี่มาก มีลักษณะของการยืดหยุ่น และผ่อนคลายในขณะยก – เหยียบ ส่วนระยะเวลาของการเดิน ไม่แน่นอนถ้าถือตามหลักเกณฑ์จริง ๆ โยคีจะต้องเกิดญาณหยั่งรู้เหตุปัจจัยของรูป – นาม ( ปัจจยปริคคหญาณ ) อย่างชัดแจ้งเสียก่อน จึงจะเพิ่มจังหวะของการเดินให้ การเดินจงกรมจังหวะนี้ มีสิ่งที่เพิ่มเข้ามาก็คือ การกำหนดรู้ต้นจิต คือคำว่า “อยาก” ในที่นี้มิได้หมายถึงอยากชนิดเป็นตัณหา แต่หมายเอาเจตนาความตั้งใจที่เป็นกุศลในขณะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งเป็นการบำเพ็ญเพียร เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕
ส่วนใหญ่นิยมกำหนดก่อนจะเดิน ๓ ครั้ง ตัวอย่างเช่น อยากเดินหนอ ๆ จากนั้นจึงเดินจงกรมต่อไป
วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๓
คำบริกรรม: ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
วิธีปฏิบัติเมื่อนักปฏิบัติกำหนดรู้อาการยืนสิ้นสุดลง ให้เอาสติไปจดจ่อที่อาการยกขึ้นของเท้าพร้อมกับกำหนดว่า “ยกหนอ” ลักษณะของการยกเท้าเข่าจะงอเล็กน้อย ส้นเท้าปลายเท้าจะยกขึ้นพร้อมๆ กัน แต่ไม่สูงจนเลยข้อเท้า จากนั้นให้เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าอย่างช้าๆ และกำหนดว่า “ย่างหนอ” การเคลื่อนไปของเท้านั้นไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะจะทำให้การทรงตัวไม่ดี ความห่างระหว่างเท้าไม่มากกว่าหนึ่งฝ่าเท้า เพราะถ้าชิดกันเกินไปจะทำให้เกิดอาการซวนเซได้ และน้ำหนักตัวจะไม่สม่ำเสมอกัน เมื่อสิ้นสุดการก้าวย่างแล้วให้วางเท้าลงแนบชิดกับพื้นอย่างช้าๆ พร้อมกับการกำหนดรู้ด้วยสติว่า “เหยียบหนอ” หนอนั้นให้กำหนดพร้อมกับการสิ้นสุดของการเหยียบ ไม่ก่อนหรือหลัง
นักปฏิบัติที่กำหนดเดินจงกรมจังหวะนี้จะมีความประจักษ์แจ้งอยู่อย่างหนึ่งว่า รูป-นามที่ตนเองกำหนดอยู่นี้ มีลักษณะไม่เที่ยง (อนิจจตา) มีลักษณะบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าเป็นทุกข์ (ทุกขตา) ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ หรือทนยากอันเนื่องมาจากสภาพที่ถูกบีบคั้นจากเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอก เป็นต้น ลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่ส่อแสดงให้รู้ด้วยปัญญาอย่างแท้จริงว่า ไม่ใช่ตัวตัวตน (อนตฺตตา) บังคับบัญชาไม่ได้ การเดินจงกรมในระยะที่ ๓ นี้ นักปฏิบัติจะได้ตระหนักรู้สภาวลักษณะดังกล่าว
วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๔
คำบริกรรม : ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
วิธีปฏิบัติเมื่อนักปฏิบัติกำหนดรู้อาการยืน และกำหนดรู้ต้นจิตว่า “อยากเดินหนอ” ๓ ครั้งแล้ว จากนั้นก็เอาใจใส่อาการยกส้น โดยกำหนดว่า “ยกส้นหนอ” ลักษณะของการยกส้นไม่ควรยกสูงจนเลยข้อเท้าขึ้นไป จากนั้นตามดูอาการเคลื่อนไหวของการยกเท้ากำหนดว่า “ยกหนอ” ลักษณะของการยกเท้าให้กระดกปลายเท้าขึ้นอย่างช้าๆ จากนั้นให้เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าอย่างช้าๆ กำหนดว่า “ย่างหนอ” จากนั้นวางเท้าลงสติจดจ่อที่อาการเคลื่อนไหวขณะที่เท้าแนบชิดกับพื้นและสิ้นสุดลง กำหนดว่า “เหยียบหนอ”
วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๕
คำบริกรรม :ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ
วิธีปฏิบัติ
เมื่อนักปฏิบัติกำหนดรู้อาการยืนและต้นจิต ๓ ครั้งแล้ว จากนั้นกำหนดรู้อาการยกขึ้นของส้นเท้า เข่าจะงอนิดหน่อย โดยตั้งใจเอาสติกำหนดรู้ที่อาการยกส้นว่า “ยกส้นหนอ” พยายามกำหนดให้ทันกับอาการเคลื่อนไหว อย่าให้ก่อนหรือหลัง จากนั้นค่อยๆ กระดกปลายเท้าขึ้นอย่างช้าๆ กำหนดอาการเคลื่อนไหวนั้นว่า “ยกหนอ” เมื่อการยกสิ้นสุดลง ให้เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าจิตจดจ่อที่อาการเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเชื่องช้านั้นกำหนดว่า “ย่างหนอ” เสร็จแล้วค่อยๆปล่อยเท้าลงไปเล็กน้อยแต่ยังไม่ถูกพื้น โดยเท้าจะขนานกับพื้นในขณะที่เท้าเคลื่อนที่ลงไปกำหนดว่า “ลงหนอ” จากนั้นวางเท้าแนบกับพื้นพร้อมกับกำหนดว่า “ ถูกหนอ” ให้พอดีกันไม่ให้ถูกก่อนหรือหลังเพราะจะไม่ได้สมาธิหรือ ทันปัจจุบัน
วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๖
( ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ )
เมื่อกำหนดรู้อาการยืนและต้นจิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นักปฏิบัติก็ตั้งใจจดจ่อที่อาการยกส้นขึ้นอย่างช้าๆ พร้อมกับกำหนดว่า “ยกส้นหนอ” จากนั้นกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของปลายเท้าที่ขึ้นอย่างช้าๆ กำหนดว่า “ยกหนอ” เมื่อเคลื่อนเท้าไปข้างหน้ากำหนดว่า “ย่างหนอ” ต่อจากนั้นกำหนดรู้อาการปล่อยเท้าลงอย่างช้าๆ กำหนดว่า “ลงหนอ” หยุดนิดหนึ่งเท้าจะขนานกับพื้นแต่ยังไม่ถูกพื้น จากนั้นให้กำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของปลายเท้าที่ค่อยๆ เคลื่อนลงไปจนกระทั่งถูกพื้น แต่ส้นเท้ายังไม่ถูกพื้นกำหนดว่า “ถูกหนอ” ต่อไปก็ให้เอาสติไปจนจ่อที่อาการเคลื่อนไหวของส้นเท้าที่ค่อยปล่อยลงไปอย่างเชื่องช้า จนกระทั่งถึงพื้นพร้อมกับกำหนดว่า “กดหนอ” หรือจะปล่อยเท้าลงอย่างช้าๆ จนถูกพื้น โดยกำหนดว่า “ถูกหนอ” ขณะทีกดเท้าลงไปที่พื้นให้กำหนดอาการกดพร้อมกับบริกรรมว่า “กดหนอ” ดังนี้
การนั่งกำหนด
การนั่งกำหนด ๒ ระยะ และวิธีปฏิบัติ
คำบริกรรม ๑ พองหนอ, ๒ ยุบหนอ
นักปฏิบัติจงเลือกนั่งสมาธิในท่าที่ตนเองถนัด ( เรียงขา ขาทับกัน ขัดสมาธิเพชร ) จากนั้นให้วางมือซ้อนกันนิ้วหัวแม่มือจะชิดกันก็ได้ ยืดกายให้ตั้งตรง อย่ายืดมากจนรู้สึกว่าเกรงพยายามให้ผ่อนคลาย หลับตาลงเบาๆจากนั้นให้กำหนดรู้อาการพอง – ยุบ บริกรรมในใจว่า พองหนอ สติต้องตามระลึกรู้อาการตั้งแต่ท้องเริ่มพอง ขณะอาการพองตั้งอยู่ ขณะที่พองหายไป ยุบหนอก็ให้กำหนดตั้งแต่เริ่มยุบ ขณะอาการยุบตั้งอยู่ และยุบหายไป คำบริกรรมและอาการพอง – ยุบต้องตรงกันอย่างสอดคล้อง ไม่ใช่พอง – ยุบหายไปแล้วจึงค่อยบริกรรมตามหลัง หรือพอง – ยุบยังไม่ปรากฏก็บริกรรมไปก่อนเสียแล้ว ส่วนหนอนั้นบริกรรมต่อท้ายเมื่ออาการนั้นๆสิ้นสุดลงพร้อมกัน หมายเหตุ สำหรับนักปฏิบัติที่กำหนดอาการพองยุบได้ยากแนะนำให้กำหนด อาการนั่งหนอ อาการถูกหนอ ซึ่งจัดเป็นการนั่งกำหนด ๒ ระยะเช่นกัน
การนั่ง ๓ ระยะ และวิธีปฏิบัติ
คำบริกรรม ๑ พองหนอ, ๒ ยุบหนอ, ๓ นั่งหนอ
นักปฏิบัติที่สามารถกำหนดอาการพอง – ยุบ ๒ ระยะได้ชัดเจนแล้ว และมีสภาวะที่อื้อต่อการเพิ่มระยะของการนั่ง เช่นขณะที่กำหนดอาการยุบหนอนั้นอาการพองค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาอย่างช้าๆ จนทำให้เกิดช่องว่างหรือมีที่ห่างพอจะใส่คำกำหนดว่า “นั่งหนอ”ได้ การใส่คำบริกรรม นั่งหนอ ต้องกำหนดให้เร็วขึ้นนิดหน่อยก่อนที่อาการพองจะปรากฏขึ้นมา ถ้าอาการพองปรากฏขึ้นมาแล้วจะใส่คำบริกรรมว่านั่งหนอไม่ได้
ข้อควรระวัง บางท่านไม่เข้าใจก็ไปบังคับไม่ให้ท้องพอง ซึ่งเป็นการฝืนสภาวะความเป็นจริงจะทำให้รู้สึกแน่นอึดอัด หายใจลำบากและเหนื่อยมาก จริงๆ แล้วเมื่อสภาวะของสมาธิถึงแล้วจะมีช่องว่างพอเพียงที่จะใส่คำบริกรรมได้ การกำหนดอาการนั่งหนอให้กำหนดเพียงรู้อาการนั่งเท่านั้น ( อาการของกายท่อนล่างคู้งอ กายท่อนบนตั้งตรง ) ความรู้สึกตัวว่านั่งอยู่ชั่วแวบเดียว ไม่ต้องถูกที่ใดๆ เลย
การนั่งกำหนด ๔ ระยะ และวิธีปฏิบัติ
คำบริกรรม ๑ พองหนอ, ๒ ยุบหนอ, ๓นั่งหนอ, ถูกหนอ
นักปฏิบัติที่ผ่านการกำหนดพอง - ยุบ 3 ระยะมาแล้ว ถ้าช่องว่างหรือยังมีที่ห่างมากพอที่จะเติมคำบริกรรมว่าถูกหนอได้อีก ก่อนที่อาการพองจะปรากฏขึ้นมาก็ให้เพิ่มคำบริกรรมนี้เข้าไปจะได้พอดีกัน การกำหนด ถูกหนอ ให้กำหนดอาการถูกหนอที่ ก้นย้อยทางขวา โดยให้กำหนดรู้เพียงอาการถูกต้องสัมผัสเพียงด้านเดียวก่อน เพราะถ้ากำหนดทั้งสองด้านอาจจะทำให้สับสนหรือเกิดอาการมึนงงได้ เมื่อมีสภาวะที่เกื้อกูลและเหมาะสมแล้ว จึงจะให้การกำหนดย้ายถูกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวิปัสสนาจารย์จะเป็นผู้แนะนำวิธีกำหนดแก่นักปฏิบัติเอง
ก. หลักการปฏิบัตินิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปะณิธายะ, ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปตวา.
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ตั้งสติเข้าสู่อารมณ์ (กรรมฐาน) เฉพาะหน้า
ข. วิธีปฏิบัติ๑. นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง คอตรง
๒. ต้องมีสติระลึกรู้อาการ เคลื่อนไหวของท้องพอง-ยุบ
๓. จิตใจจดจ่อและแนบชิดที่อาการขึ้นๆ ลงๆ ของท้องพอง-ยุบ
๔. วางจิตกำหนดที่ตรงสะดือขณะที่กำหนดควรหลับตา
๕. ใช้จิตเพียรดูอาการเคลื่อนไหวบริเวณท้อง
๖. ขณะที่ท้องพองขึ้นกำหนด บริกรรมในใจ ว่า “พองหนอ”
๗. ขณะที่ท้องแฟบลงกำหนด บริกรรมในใจ ว่า “ยุบหนอ”
๘. จิตที่รู้อาการพอง-ยุบ กับคำบริกรรม และสติที่ระลึกรู้ควรให้พร้อมกัน
ค. สิ่งที่พึงเว้นขณะนั่งกำหนด๑. ไม่นั่งตัวงอ เอนเอียง หรือก้มศีรษะ (เว้นแต่มีสภาพร่างกายเป็นเช่นนั้น)
๒. ไม่เปล่งเสียงหรือบ่นพึมพำในขณะกำหนดอาการพอง-ยุบ
๓. ไม่ควรลืมตาเพื่อสอดส่ายหาอารมณ์ภายนอก
๔. ไม่ควรพยายามเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยจนเกินไป
๕. ไม่ควรนั่งพิงเก้าอี้ พนักพิง เสา (ยกเว้นแก้สภาวะ)
สรุปกา ๖. ไม่ควรนำคำบริกรรมที่ไม่ตรงตามสภาวธรรมที่เป็นจริงมาใช้ เช่นในขณะที่ปวด บริกรรมว่า ไม่ปวดหนอ ๆ เป็นต้น
๗. ไม่ควรบังคับลมหายใจเข้า-ออก เพื่อหวังจะกำหนดอาการพอง-ยุบ พยายามกำหนดให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
ง. นักปฏิบัติที่กำหนดอาการพอง-ยุบได้ยากควรกระทำ ดังนี้๑. ใช้ฝ่ามือแตะที่หน้าท้องตรงบริเวณสะดือเพียงเบา ๆ
๒.รู้อาการเคลื่อนไหวของท้องขณะที่มีอาการพองดันมือขึ้น บริกรรมในใจว่า “พองหนอ”
๓.ขณะอาการดังกล่าวละจากฝ่ามือของเราไปพึงตั้งสติกำหนดว่า “ยุบหนอ”
๔. กำหนดรู้อาการนั่งหนอ ถูกหนอ แทนอาการพอง-ยุบหรือบริกรรมในใจเพียงรู้อาการนั่งก็ได้ (สำหรับผู้เคยทำอานาปานฯมาก่อนแนะนำให้ใช้วิธีนี้)
๕. กำหนดรู้อาการถูกตรงก้นย้อยขวาสัมผัสพื้น โดยบริกรรมว่า “ถูกหนอ”
๖. สำหรับบางท่านขณะกำหนดอาการพอง-ยุบ มักจะใส่หนอไม่ทันก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพียรพยายามกำหนดรู้ตามอาการนั้นๆ เมื่อวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แก่กล้าขึ้น จะสามารถใส่หนอได้เอง
๗. พยายามคลายเครื่องนุ่งห่มให้หลวม อาจช่วยให้การกำหนดพอง-ยุบได้ง่าย
๘. นอนหงายวางมือขวามือซ้ายซ้อนกันบนหน้าท้อง จากนั้นเฝ้าดูอาการพอง-ยุบอย่างมีสติ
การกำหนดดังกล่าว เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทางร่างกาย อนุโลมลงได้ในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติตามระลึกรู้กายในกาย โดยพระพุทธองค์ตรัสไว้ในคัมภีร์มหาสติปัฎฐานสูตร หมวดอิริยาบถว่า ยะถา ยะถา วา ปะนัสสะ กาโยปะณิหิโต โหติ, ตะถา ตะถา นัง ปะชานาติ กายของ (ภิกษุ/โยคี) ดำรงอยู่โดยอาการใดๆ ก็กำหนดรู้กายนั้นโดยอาการนั้นๆ (ที. มหา ๑๐/๑๐/๓๗๕/๒๔๙) การกำหนดอาการพอง-ยุบ จัดเป็นอาการที่ปรากฏในส่วนแห่งร่างกาย พร้อมกันนี้การกำหนดพอง-ยุบ ยังเป็นการกำหนดวาโยโผฏฐัพพะรูป ซึ่งอาจจะกล่าวโดยอนุโลมได้ว่าเป็นการกำหนดอานาปานโดยอ้อมเช่นเดียวกัน อีกนัยหนึ่งการกำหนดรู้อาการพอง-ยุบ เป็นการกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของธาตุลม (กุจฉิสยวาโย ลมในท้อง) พอง – ยุบ เป็นรูป จิตที่กำหนดรู้เป็นนาม ซึ่งจัดว่าเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานด้วยเช่นกัน
ความหมายของการกำหนดรู้
การกำหนด หมายถึง การเอาจิตเข้าไปจดจ่อเฝ้าดูสภาวธรรมอันปรากฏขึ้นตามความเป็นจริง ด้วยวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา โดยปราศจากการคิดนึกพิจารณาปรุงแต่ง หรือเพิ่มเติมสิ่งใดๆ ลงไปในทุกๆ ขณะที่มีการกำหนด
ขณะที่นักปฏิบัติกำหนดอาการพอง - ยุบ อาจมีอารมณ์แทรกปรากฏขึ้นชัดเจนกว่า ควรละการกำหนดอาการพอง - ยุบ ชั่วคราว จากนั้นตั้งใจกำหนดอารมณ์ที่แทรกเข้ามานั้น จนกระทั่งดับไป เสื่อมไป หรือไม่ชัดเจนแล้วจึงค่อยกลับมากำหนอาการพอง - ยุบ ต่อไป เมื่อครบตามกำหนดเวลาที่ตั้งใจจะนั่ง เช่น 5, 10, 20, 30,45,60 นาที จึงกำหนดเปลี่ยนอิริยาบถไปเดินจงกรม เพื่อปรับแต่งอิริยาบถและอินทรีย์ 5 ให้มีความสม่ำเสมอกัน
การนอนกำหนด
ก. หลักการปฏิบัติสะยาโน วา สะยาโนมหีติ ปะชานาติ.
นอนอยู่ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้านอนอยู่
ข. วิธีการปฏิบัติ๑.มีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้ในอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย
๒. ขณะเอนกายลง เพื่อจะนอนพึงกำหนดว่า “เอนหนอ ๆ ๆ”
๓. ขณะที่ข้อศอก ตะโพก แผ่นหลัง ศีรษะหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสพื้น พึงกำหนดทันทีว่า “ถูกหนอๆ ๆ”
๔. ขณะที่นอนแบบตะแคงขวาหรือหงายขนานราบกับพื้นพึงกำหนดไว้ในใจว่า “นอนหนอๆ”
๕. เมื่อนอนลงไปเรียบร้อยแล้ว พึงหลับตาและเริ่มกำหนดคือเอาจิตไปจดจ่อที่อาการเคลื่อนไหว ขึ้นลงของท้องขณะท้องพองขึ้น กำหนด ว่า “พองหนอๆ ๆ” ขณะใดท้องแฟบลงกำหนดว่า “ยุบหนอ” ขณะใดท้องพองขึ้นก็กำหนดว่า “พองหนอ” หรือกำหนด นอนหนอ ถูกหนอ ตามควรแก่สภาวะ หรือระยะนั้นๆ จนกระทั่งหลับไปอย่างมีสติ เมื่อรู้สึกตัวตื่นขึ้น จึงเริ่มต้นการกำหนดอย่างต่อเนื่องต่อไป
ค.สิ่งที่พึงเว้นขณะกำหนดอาการนอน๑.นอนลืมตาหรือพยายามใช้จิตเพื่อเพ่งดูสัณฐานบัญญัติ
๒. คอยจดจ้องดูว่าจะหลับขณะที่พองหรือยุบ (จะทำให้กังวลมาก)
๓. พลิกหรือขยับตัวไปๆ มาๆ บ่อยมากเกินไป
๔.บังคับลมหายใจเข้าเพื่อกำหนดพอง บังคับลมหายใจออกเพื่อกำหนดยุบ เพราะอาจเกิดอาการเหนื่อยหอบได้ หรืออาจเป็นสาเหตุทำให้นอนไม่หลับ เกิดอาการอ่อนเพลียและเป็นอุปสรรคแก่การกำหนดในวันต่อไป
๒. เตรียมดอกไม้ธูปเทียน (ถ้ามี) เพื่อขอสมาทานศีลและขึ้นพระกรรมฐาน
๓. แต่งกายสุภาพ (ชุดขาว) กิริยาท่าทางสำรวม ไม่ควรพูดคุยกัน
๔. เมื่อถึงที่ขึ้นกรรมฐานกราบพระรัตนตรัยด้วยเบญจางค์ประดิษฐ์ ๓ ครั้ง จากนั้นกราบพระอาจารย์อีก ๓ ครั้ง ประเคนพานดอกไม้ธูปเทียน เสร็จแล้วกล่าวคำสมาทานศีล ๘ ดังนี้...
๕. มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
( ถ้าคนเดียวว่า อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามิ ) (ทุติยัมปิ, ตะติยัมปิ, ก็ว่าเช่นเดียวกัน)
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
๖. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว นโม ตัสสะฯ ๓ จบ จากนั้นให้กล่าวตาม ๓ จบ
๗. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว ไตรสรณคม ให้กล่าวตามว่า
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
เมื่อกล่าวตามจบแล้ว พระอาจารย์จะกล่าวว่า “ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง”
ให้กล่าวรับว่า “อามะ ภันเต”
๘. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว สิกขาบท ๘ ข้อ ให้กล่าวตามเป็นข้อๆ ดังนี้....
๙. (๑) ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นฆ่า
(๒) อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นลักขโมย
(๓) อะพรัหมจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการประพฤติผิดอันมิใช่พรหมจรรย์
(๔) มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการพูดคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ
(๕) สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการดื่มสุรา และสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิด
(๖) วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงวันจนกระทั่งถึงวันใหม่
(๗) นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะณะ วิภูสะณัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการฟ้อนร่ำขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นต่างๆ ตลอดจนลูบไล้ ทัดทรงด้วยการประดับตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทาทุกชนิด
(๘) อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี
๑๐. กล่าวคำมอบกายถวายตัวต่อพระรัตนตรัย ดังนี้
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอมอบกายถวายชีวิต ต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
๑๐. กล่าวคำถวายตัวเป็นศิษย์ต่อพระอาจารย์
อิมาหัง อาจะริยะ อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัว ต่อพระอาจารย์ เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
๑๑. กล่าวคำขอพระกรรมฐาน
นิพพานัสสะ เม ภันเต สัจฉิกะระณัตถายะ กัมมัฏฐานัง เทหิ
ข้าแต่ท่านพระอาจารย์ผู้เจริญ ขอท่านจงให้ซึ่งวิปัสสนากรรมฐาน แก่ข้าพเจ้าเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรค ผล นิพพาน ณ ปัจจุบันกาลนี้ด้วย เทอญ
๑๒. ตั้งความปรารถนา
อิมายะ ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา รัตตะนะตะยัง ปูเชมิ
ข้าพเจ้าขอบูชาพระรัตนตรัย ด้วยการปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรมนี้ และด้วยสัจวาจาที่ได้กล่าวอ้างมานี้ ขอให้ข้าพเจ้ามีความเพียรในการกำหนดอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถบรรลุผลสมปรารถนา ในเวลาอันไม่ช้าด้วย เทอญฯ
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
การยืนกำหนด
ก. หลักการปฏิบัติ
ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปะชานาติ. ยืนอยู่ ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้ายืนอยู่
ข. วิธีการปฏิบัติ๑. ยืนตัวตั้งตรง คอตรง มือไขว้กันไว้ข้างหลัง
๒. ลืมตาเพียงครึ่งเดียว ทอดสายตาไปไกลประมาณ 2-3 เมตร
๓. สติระลึกรู้อาการยืน คือร่างกายที่ตั้งตรงกำหนดว่า "ยืนหนอ" ๓ ครั้ง
๔. ขณะที่บริกรรมในใจว่า "ยืนหนอ" ต้องรู้สึกตัวว่า ตนเองยืนอยู่จริงๆ
๕.จิตแนบแน่นกับความรู้สึกถึงอาการตั้งตรงของร่างกาย ควบคู่กับคำบริกรรม
ค. สิ่งที่พึงเว้นขณะกำหนดอาการยืน
๑. ไม่ควรหลับตา หรือสอดส่ายสายตาเพื่อหาอารมณ์อื่นๆ
๒. ไม่ควรก้มจนเกินไป หรือแหงนหน้ามองสิ่งอื่นๆ โดยไม่จำเป็น
๓. ไม่กำหนดอาการพอง-ยุบ (เว้นไว้แต่กรณีที่จำเป็นเท่านั้น)
๔.ไม่เพ่งดูสัณฐานบัญญัติส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เช่น ปลายเท้า หัวเข่า หน้าท้องตรงสะดือ หน้าอก ศีรษะ หน้าผาก ปลายผม เป็นต้น ที่ถูกแล้วควรกำหนดรู้เพียงแค่อาการหรือความรู้สึกตัวขณะที่ยืนอยู่เท่านั้น
อิริยาบถเดิน
ความหมาย การเดินจงกรมไม่ใช่การเดินชมธรรมชาติหรือเดินเพื่อการผ่อนคลายร่างกายหรือจิตใจ แต่การเดินจงกรมหมายถึง การเดินไปและเดินกลับอย่างมีสติ เพื่อปรับแต่งอิริยาบถฯ และอินทรีย์ให้มีความเสมอกัน
ก. หลักการปฏิบัติ
คัจฉันโต วา คัจฉามีติ ปะชานาติ.
เดินอยู่ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้าเดินอยู่
ข. วิธีปฏิบัติ
๑. สายตาเตรียมไว้มองไกลประมาณ ๒ - ๓ เมตร
๒. จิตจดจ่ออยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของเท้าสติกำหนดรู้
๓. คำบริกรรมในใจกับอาการเคลื่อนไหวต้องไปพร้อมกัน
๔. ขณะที่เดินอยู่ ถ้ามีสภาวธรรมอย่างอื่นที่ชัดเจนมากกว่าแทรกเข้ามา ควรหยุดกำหนดอาการเดินชั่วคราว จากนั้นตั้งใจกำหนดอารมณ์ที่แทรกเข้ามานั้น จนกระทั่งดับไป เสื่อมไป หรือไม่ชัดเจนแล้วจึงค่อยกลับมากำหนดอาการเดิน ต่อไป
๕. เดินช้า ๆ แต่อย่าบังคับมาก จิตใจจดจ่อ มีสติกำหนดรู้อย่างต่อเนื่อง
ค.สิ่งที่ควรจะงดเว้นขณะเดินจงกรม
๑. ไม่นิยมหลับตา หรือสอดส่ายสายตาเพื่อหาอารมณ์
๒. ไม่ควรก้มมากเกินไป หรือจดจ้องจนปวดต้นคอ
๓. ไม่เชิดหน้า หรือเดินแกว่งแขน
๔. ไม่เกร็งเท้าหรือขาจนเกินไปในขณะเดิน
๕. ไม่บริกรรมสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ตรงกับสภาวะของการเดิน
๖. ไม่เพ่งสัณฐานบัญญัติของเท้า หรือกำหนดพอง-ยุบ
ง. ข้อยกเว้นบางกรณี
๑. เดินเร็ว ๆ เพื่อแก้ความง่วง
๒. เดินช้ามาก ๆ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิและเห็นการเกิดดับชัดเจน
๓. ออกเสียงหรือบริกรรมด้วยวาจา เป็นการฝึกให้รู้วิธีปฏิบัติเท่านั้น
๔. เดินมองธรรมชาติเพื่อแก้สภาวะบางอย่าง
๕. ทำกายบริหารเพื่อการผ่อนคลายเป็นบางครั้ง
( ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ )
ให้กำหนดรู้อาการยืนก่อน ๓ ครั้ง ตามองไปไกลประมาณ ๒ เมตร ลำตัวตั้งตรง คอตรง ลืมตาเพียงครึ่งเดียว มือไขว้หลังจากนั้นเอาสติไปจับที่เท้าซ้าย หรือขวาก็ได้แล้วแต่ความถนัด ขณะบริกรรมในใจว่า ขวา จิตจะจดจ่อที่เท้าขวา เข่างอนิดหน่อยอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะเดิน ไม่นิยมยกเท้า เพราะจะไปซ้ำกับระยะต่อไป ขณะบริกรรมในใจว่า ย่าง เท้าต้องเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ขาและเข่าตรง ขณะบริกรรมในใจว่า หนอ เท้าต้องหยุดการเคลื่อนที่โดยทันที ขณะที่เท้าเคลื่อนที่ไปข้างหน้าน้ำหนักตัวจะถูกถ่ายเทไปยังเท้าอีกข้างหนึ่งซึ่งอยู่ตรงกันข้าม เช่น ขวาย่างหนอ การรับน้ำหนักจะอยู่ที่เท้าด้านซ้าย ในขณะที่เท้าซ้ายเคลื่อนไป น้ำหนักจะอยู่ที่เท้าด้านขวา ส่วนของการเดินในระยะต่อ ๆ ไป การถ่ายเทน้ำหนักตัวก็มีลักษณะเหมือนกัน
ในทีนี้นักปฏิบัติไม่ต้องแยกคำบริกรรมเป็น ๓ ช่วง เช่น ขวา, ย่าง, หนอ เพราะจะทำให้ไปซ้ำกับการเดินในระยะที่ ๓ คำบริกรรมต้องเนื่องกันไป จนการเคลื่อนที่ไปของเท้าสิ้นสุดลง การเดินในระยะนี้จะเกิดการผ่อนคลายได้ดี และใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด อย่าพยายามบังคับให้ช้าหรือเร็วจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เกร็ง ตึง และเครียดมากจนเกินไป การเดินในระยะนี้จะไม่ช้ามากนัก เพราะเป็นการกำหนดรู้เพียงอาการเคลื่อนไหวของเท้าเท่านั้น ถ้าบังคับมากจนเกินไป อาจจะไม่ส่งผลดีแก่นักปฏิบัติเท่าที่ควร
การเดินในระยะนี้จะมีความรู้สึกผ่อนคลายค่อนข้างมาก ถ้าเดินแล้วเครียดหรือรู้สึกกดดันมากควรจะพิจารณา หรือเฝ้าสังเกตดูให้ดีว่าเกิดจากสาเหตุใด เช่น จ้องมากเกินไป เพ่งมากเกินไป บังคับการเดินให้ช้าเกินสภาพความเป็นจริง เพื่อสนองความต้องการของตน หรืออยากให้ได้ให้เป็นตามที่วิปัสสนาจารย์แนะนำมากเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่สอดคล้องกับสภาพความจริงที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ประเด็นเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเครียดหรือกดดัน เมื่อทราบแล้วค่อยๆ แก้ไข ผ่อนคลายความรู้สึกเหล่านั้น พยายามกำหนดให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติของแต่ละบุคคล จะทำให้การปฏิบัติของท่านก้าวหน้าและดียิ่งขึ้น
การเดินในจังหวะที่ ๑ อาจใช้เวลานานหลายวัน ไม่ใช่เพียงวันเดียวอย่างที่บางท่านเข้าใจ การขึ้นหรือเพิ่มระยะใหม่จริงๆแล้วต้องคำนึงถึงสภาวะญาณที่หยั่งรู้รูปนามตามความเป็นจริงคือ สามารถแยกรูป–นามออกจากกันได้ (นามรูปปริเฉทญาณ) อย่างชัดแจ้ง จึงจะเพิ่มระยะของการเดินและการกำหนดให้ เพื่อต้องการให้นักปฏิบัติเข้าใจในวิธีปฏิบัติจากนั้นก็นำไปปฏิบัติกันเอง โดยพยายามบ่มเพาะสติปัญญากันไปเรื่อยๆ บ่อยๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดญาณหยั่งรู้ด้วยตนเองอย่างชัดแจ้ง จึงค่อยเพิ่มระยะในการเดินต่อไป เพื่อมิให้เกิดข้อผิดพลาดวิปัสสนาจารย์จะต้องตรวจสอบด้วยการซักถามอย่างละเอียด และนักปฏิบัติก็ต้องตอบตามความเป็นจริงในขณะปฏิบัติ ห้ามจำจากหนังสือหรือจากผู้อื่นมาตอบ ถ้าเป็นเช่นนี้ชื่อว่าไม่รักษาประโยชน์ตน โอกาสในการบรรลุธรรมของท่านก็จะน้อยลงไป ใส่ใจสักนิด อย่าทำผิดด้วยการโกหกตนเอง
( ยกหนอ เหยียบหนอ )
เมื่อกำหนดอาการยืน และต้นจิต คือ อยากเดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอาจิตไปกำหนดอาการยกของเท้าซ้ายหรือขวาก็ได้ ในขณะที่เท้ายกขึ้นกำหนดว่า “ยกหนอ” การกำหนดหนอนั้นให้พร้อมกับการสิ้นสุดลงของการยก ข้อสำคัญไม่ควรที่จะยกเท้าสูงจนกระทั่งเลยข้อเท้าขึ้นไป หรือก้าวเท้ายาวจนเกินไป ขณะปล่อยเท้าลงวางแนบกับพื้นกำหนดว่า “เหยียบหนอ” พร้อมกับการสิ้นสุดของการเหยียบ การเดินในระยะที่ ๒ นี้ จุดสำคัญที่ต้องเอาใจใส่อยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของการยกและเหยียบ ถึงแม้จะมีความรู้สึกขณะวางเท้าลงเหมือนมีการเคลื่อนตัวไปข้างหน้านิดหน่อย แต่นักปฏิบัติไม่ต้องเอาใจใส่ ให้มนสิการแต่เพียงอาการยกและเหยียบเท่านั้น
การเดินจงกรมในจังหวะนี้บางท่านมีความรู้สึกว่าอึดอัด ไม่เป็นธรรมชาติวิปัสสนาจารย์บางท่าน จึงแนะนำให้นักปฏิบัติผ่านไปเดินในจังหวะที่ ๓ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ถ้าใส่ใจอย่างระมัดระวัง และแยบคาย ( โยนิโสมนสิการ ) สักหน่อย ท่านจะค้นพบธรรมชาติอย่างวิเศษของการเดินในระยะนี้ เพราะมีความถี่มาก มีลักษณะของการยืดหยุ่น และผ่อนคลายในขณะยก – เหยียบ ส่วนระยะเวลาของการเดิน ไม่แน่นอนถ้าถือตามหลักเกณฑ์จริง ๆ โยคีจะต้องเกิดญาณหยั่งรู้เหตุปัจจัยของรูป – นาม ( ปัจจยปริคคหญาณ ) อย่างชัดแจ้งเสียก่อน จึงจะเพิ่มจังหวะของการเดินให้ การเดินจงกรมจังหวะนี้ มีสิ่งที่เพิ่มเข้ามาก็คือ การกำหนดรู้ต้นจิต คือคำว่า “อยาก” ในที่นี้มิได้หมายถึงอยากชนิดเป็นตัณหา แต่หมายเอาเจตนาความตั้งใจที่เป็นกุศลในขณะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งเป็นการบำเพ็ญเพียร เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕
ส่วนใหญ่นิยมกำหนดก่อนจะเดิน ๓ ครั้ง ตัวอย่างเช่น อยากเดินหนอ ๆ จากนั้นจึงเดินจงกรมต่อไป
คำบริกรรม: ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
วิธีปฏิบัติเมื่อนักปฏิบัติกำหนดรู้อาการยืนสิ้นสุดลง ให้เอาสติไปจดจ่อที่อาการยกขึ้นของเท้าพร้อมกับกำหนดว่า “ยกหนอ” ลักษณะของการยกเท้าเข่าจะงอเล็กน้อย ส้นเท้าปลายเท้าจะยกขึ้นพร้อมๆ กัน แต่ไม่สูงจนเลยข้อเท้า จากนั้นให้เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าอย่างช้าๆ และกำหนดว่า “ย่างหนอ” การเคลื่อนไปของเท้านั้นไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะจะทำให้การทรงตัวไม่ดี ความห่างระหว่างเท้าไม่มากกว่าหนึ่งฝ่าเท้า เพราะถ้าชิดกันเกินไปจะทำให้เกิดอาการซวนเซได้ และน้ำหนักตัวจะไม่สม่ำเสมอกัน เมื่อสิ้นสุดการก้าวย่างแล้วให้วางเท้าลงแนบชิดกับพื้นอย่างช้าๆ พร้อมกับการกำหนดรู้ด้วยสติว่า “เหยียบหนอ” หนอนั้นให้กำหนดพร้อมกับการสิ้นสุดของการเหยียบ ไม่ก่อนหรือหลัง
นักปฏิบัติที่กำหนดเดินจงกรมจังหวะนี้จะมีความประจักษ์แจ้งอยู่อย่างหนึ่งว่า รูป-นามที่ตนเองกำหนดอยู่นี้ มีลักษณะไม่เที่ยง (อนิจจตา) มีลักษณะบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าเป็นทุกข์ (ทุกขตา) ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ หรือทนยากอันเนื่องมาจากสภาพที่ถูกบีบคั้นจากเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอก เป็นต้น ลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่ส่อแสดงให้รู้ด้วยปัญญาอย่างแท้จริงว่า ไม่ใช่ตัวตัวตน (อนตฺตตา) บังคับบัญชาไม่ได้ การเดินจงกรมในระยะที่ ๓ นี้ นักปฏิบัติจะได้ตระหนักรู้สภาวลักษณะดังกล่าว
คำบริกรรม : ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
วิธีปฏิบัติเมื่อนักปฏิบัติกำหนดรู้อาการยืน และกำหนดรู้ต้นจิตว่า “อยากเดินหนอ” ๓ ครั้งแล้ว จากนั้นก็เอาใจใส่อาการยกส้น โดยกำหนดว่า “ยกส้นหนอ” ลักษณะของการยกส้นไม่ควรยกสูงจนเลยข้อเท้าขึ้นไป จากนั้นตามดูอาการเคลื่อนไหวของการยกเท้ากำหนดว่า “ยกหนอ” ลักษณะของการยกเท้าให้กระดกปลายเท้าขึ้นอย่างช้าๆ จากนั้นให้เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าอย่างช้าๆ กำหนดว่า “ย่างหนอ” จากนั้นวางเท้าลงสติจดจ่อที่อาการเคลื่อนไหวขณะที่เท้าแนบชิดกับพื้นและสิ้นสุดลง กำหนดว่า “เหยียบหนอ”
คำบริกรรม :ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ
วิธีปฏิบัติ
เมื่อนักปฏิบัติกำหนดรู้อาการยืนและต้นจิต ๓ ครั้งแล้ว จากนั้นกำหนดรู้อาการยกขึ้นของส้นเท้า เข่าจะงอนิดหน่อย โดยตั้งใจเอาสติกำหนดรู้ที่อาการยกส้นว่า “ยกส้นหนอ” พยายามกำหนดให้ทันกับอาการเคลื่อนไหว อย่าให้ก่อนหรือหลัง จากนั้นค่อยๆ กระดกปลายเท้าขึ้นอย่างช้าๆ กำหนดอาการเคลื่อนไหวนั้นว่า “ยกหนอ” เมื่อการยกสิ้นสุดลง ให้เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าจิตจดจ่อที่อาการเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเชื่องช้านั้นกำหนดว่า “ย่างหนอ” เสร็จแล้วค่อยๆปล่อยเท้าลงไปเล็กน้อยแต่ยังไม่ถูกพื้น โดยเท้าจะขนานกับพื้นในขณะที่เท้าเคลื่อนที่ลงไปกำหนดว่า “ลงหนอ” จากนั้นวางเท้าแนบกับพื้นพร้อมกับกำหนดว่า “ ถูกหนอ” ให้พอดีกันไม่ให้ถูกก่อนหรือหลังเพราะจะไม่ได้สมาธิหรือ ทันปัจจุบัน
( ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ )
เมื่อกำหนดรู้อาการยืนและต้นจิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นักปฏิบัติก็ตั้งใจจดจ่อที่อาการยกส้นขึ้นอย่างช้าๆ พร้อมกับกำหนดว่า “ยกส้นหนอ” จากนั้นกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของปลายเท้าที่ขึ้นอย่างช้าๆ กำหนดว่า “ยกหนอ” เมื่อเคลื่อนเท้าไปข้างหน้ากำหนดว่า “ย่างหนอ” ต่อจากนั้นกำหนดรู้อาการปล่อยเท้าลงอย่างช้าๆ กำหนดว่า “ลงหนอ” หยุดนิดหนึ่งเท้าจะขนานกับพื้นแต่ยังไม่ถูกพื้น จากนั้นให้กำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของปลายเท้าที่ค่อยๆ เคลื่อนลงไปจนกระทั่งถูกพื้น แต่ส้นเท้ายังไม่ถูกพื้นกำหนดว่า “ถูกหนอ” ต่อไปก็ให้เอาสติไปจนจ่อที่อาการเคลื่อนไหวของส้นเท้าที่ค่อยปล่อยลงไปอย่างเชื่องช้า จนกระทั่งถึงพื้นพร้อมกับกำหนดว่า “กดหนอ” หรือจะปล่อยเท้าลงอย่างช้าๆ จนถูกพื้น โดยกำหนดว่า “ถูกหนอ” ขณะทีกดเท้าลงไปที่พื้นให้กำหนดอาการกดพร้อมกับบริกรรมว่า “กดหนอ” ดังนี้
อิริยาบถนั่ง
การนั่งกำหนด ๒ ระยะ และวิธีปฏิบัติ
คำบริกรรม ๑ พองหนอ, ๒ ยุบหนอ
นักปฏิบัติจงเลือกนั่งสมาธิในท่าที่ตนเองถนัด ( เรียงขา ขาทับกัน ขัดสมาธิเพชร ) จากนั้นให้วางมือซ้อนกันนิ้วหัวแม่มือจะชิดกันก็ได้ ยืดกายให้ตั้งตรง อย่ายืดมากจนรู้สึกว่าเกรงพยายามให้ผ่อนคลาย หลับตาลงเบาๆจากนั้นให้กำหนดรู้อาการพอง – ยุบ บริกรรมในใจว่า พองหนอ สติต้องตามระลึกรู้อาการตั้งแต่ท้องเริ่มพอง ขณะอาการพองตั้งอยู่ ขณะที่พองหายไป ยุบหนอก็ให้กำหนดตั้งแต่เริ่มยุบ ขณะอาการยุบตั้งอยู่ และยุบหายไป คำบริกรรมและอาการพอง – ยุบต้องตรงกันอย่างสอดคล้อง ไม่ใช่พอง – ยุบหายไปแล้วจึงค่อยบริกรรมตามหลัง หรือพอง – ยุบยังไม่ปรากฏก็บริกรรมไปก่อนเสียแล้ว ส่วนหนอนั้นบริกรรมต่อท้ายเมื่ออาการนั้นๆสิ้นสุดลงพร้อมกัน หมายเหตุ สำหรับนักปฏิบัติที่กำหนดอาการพองยุบได้ยากแนะนำให้กำหนด อาการนั่งหนอ อาการถูกหนอ ซึ่งจัดเป็นการนั่งกำหนด ๒ ระยะเช่นกัน
การนั่ง ๓ ระยะ และวิธีปฏิบัติ
คำบริกรรม ๑ พองหนอ, ๒ ยุบหนอ, ๓ นั่งหนอ
นักปฏิบัติที่สามารถกำหนดอาการพอง – ยุบ ๒ ระยะได้ชัดเจนแล้ว และมีสภาวะที่อื้อต่อการเพิ่มระยะของการนั่ง เช่นขณะที่กำหนดอาการยุบหนอนั้นอาการพองค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาอย่างช้าๆ จนทำให้เกิดช่องว่างหรือมีที่ห่างพอจะใส่คำกำหนดว่า “นั่งหนอ”ได้ การใส่คำบริกรรม นั่งหนอ ต้องกำหนดให้เร็วขึ้นนิดหน่อยก่อนที่อาการพองจะปรากฏขึ้นมา ถ้าอาการพองปรากฏขึ้นมาแล้วจะใส่คำบริกรรมว่านั่งหนอไม่ได้
ข้อควรระวัง บางท่านไม่เข้าใจก็ไปบังคับไม่ให้ท้องพอง ซึ่งเป็นการฝืนสภาวะความเป็นจริงจะทำให้รู้สึกแน่นอึดอัด หายใจลำบากและเหนื่อยมาก จริงๆ แล้วเมื่อสภาวะของสมาธิถึงแล้วจะมีช่องว่างพอเพียงที่จะใส่คำบริกรรมได้ การกำหนดอาการนั่งหนอให้กำหนดเพียงรู้อาการนั่งเท่านั้น ( อาการของกายท่อนล่างคู้งอ กายท่อนบนตั้งตรง ) ความรู้สึกตัวว่านั่งอยู่ชั่วแวบเดียว ไม่ต้องถูกที่ใดๆ เลย
การนั่งกำหนด ๔ ระยะ และวิธีปฏิบัติ
คำบริกรรม ๑ พองหนอ, ๒ ยุบหนอ, ๓นั่งหนอ, ถูกหนอ
นักปฏิบัติที่ผ่านการกำหนดพอง - ยุบ 3 ระยะมาแล้ว ถ้าช่องว่างหรือยังมีที่ห่างมากพอที่จะเติมคำบริกรรมว่าถูกหนอได้อีก ก่อนที่อาการพองจะปรากฏขึ้นมาก็ให้เพิ่มคำบริกรรมนี้เข้าไปจะได้พอดีกัน การกำหนด ถูกหนอ ให้กำหนดอาการถูกหนอที่ ก้นย้อยทางขวา โดยให้กำหนดรู้เพียงอาการถูกต้องสัมผัสเพียงด้านเดียวก่อน เพราะถ้ากำหนดทั้งสองด้านอาจจะทำให้สับสนหรือเกิดอาการมึนงงได้ เมื่อมีสภาวะที่เกื้อกูลและเหมาะสมแล้ว จึงจะให้การกำหนดย้ายถูกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวิปัสสนาจารย์จะเป็นผู้แนะนำวิธีกำหนดแก่นักปฏิบัติเอง
ก. หลักการปฏิบัตินิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปะณิธายะ, ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปตวา.
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ตั้งสติเข้าสู่อารมณ์ (กรรมฐาน) เฉพาะหน้า
ข. วิธีปฏิบัติ๑. นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง คอตรง
๒. ต้องมีสติระลึกรู้อาการ เคลื่อนไหวของท้องพอง-ยุบ
๓. จิตใจจดจ่อและแนบชิดที่อาการขึ้นๆ ลงๆ ของท้องพอง-ยุบ
๔. วางจิตกำหนดที่ตรงสะดือขณะที่กำหนดควรหลับตา
๕. ใช้จิตเพียรดูอาการเคลื่อนไหวบริเวณท้อง
๖. ขณะที่ท้องพองขึ้นกำหนด บริกรรมในใจ ว่า “พองหนอ”
๗. ขณะที่ท้องแฟบลงกำหนด บริกรรมในใจ ว่า “ยุบหนอ”
๘. จิตที่รู้อาการพอง-ยุบ กับคำบริกรรม และสติที่ระลึกรู้ควรให้พร้อมกัน
ค. สิ่งที่พึงเว้นขณะนั่งกำหนด๑. ไม่นั่งตัวงอ เอนเอียง หรือก้มศีรษะ (เว้นแต่มีสภาพร่างกายเป็นเช่นนั้น)
๒. ไม่เปล่งเสียงหรือบ่นพึมพำในขณะกำหนดอาการพอง-ยุบ
๓. ไม่ควรลืมตาเพื่อสอดส่ายหาอารมณ์ภายนอก
๔. ไม่ควรพยายามเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยจนเกินไป
๕. ไม่ควรนั่งพิงเก้าอี้ พนักพิง เสา (ยกเว้นแก้สภาวะ)
สรุปกา ๖. ไม่ควรนำคำบริกรรมที่ไม่ตรงตามสภาวธรรมที่เป็นจริงมาใช้ เช่นในขณะที่ปวด บริกรรมว่า ไม่ปวดหนอ ๆ เป็นต้น
๗. ไม่ควรบังคับลมหายใจเข้า-ออก เพื่อหวังจะกำหนดอาการพอง-ยุบ พยายามกำหนดให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
ง. นักปฏิบัติที่กำหนดอาการพอง-ยุบได้ยากควรกระทำ ดังนี้๑. ใช้ฝ่ามือแตะที่หน้าท้องตรงบริเวณสะดือเพียงเบา ๆ
๒.รู้อาการเคลื่อนไหวของท้องขณะที่มีอาการพองดันมือขึ้น บริกรรมในใจว่า “พองหนอ”
๓.ขณะอาการดังกล่าวละจากฝ่ามือของเราไปพึงตั้งสติกำหนดว่า “ยุบหนอ”
๔. กำหนดรู้อาการนั่งหนอ ถูกหนอ แทนอาการพอง-ยุบหรือบริกรรมในใจเพียงรู้อาการนั่งก็ได้ (สำหรับผู้เคยทำอานาปานฯมาก่อนแนะนำให้ใช้วิธีนี้)
๕. กำหนดรู้อาการถูกตรงก้นย้อยขวาสัมผัสพื้น โดยบริกรรมว่า “ถูกหนอ”
๖. สำหรับบางท่านขณะกำหนดอาการพอง-ยุบ มักจะใส่หนอไม่ทันก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพียรพยายามกำหนดรู้ตามอาการนั้นๆ เมื่อวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แก่กล้าขึ้น จะสามารถใส่หนอได้เอง
๗. พยายามคลายเครื่องนุ่งห่มให้หลวม อาจช่วยให้การกำหนดพอง-ยุบได้ง่าย
๘. นอนหงายวางมือขวามือซ้ายซ้อนกันบนหน้าท้อง จากนั้นเฝ้าดูอาการพอง-ยุบอย่างมีสติ
การกำหนดดังกล่าว เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทางร่างกาย อนุโลมลงได้ในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติตามระลึกรู้กายในกาย โดยพระพุทธองค์ตรัสไว้ในคัมภีร์มหาสติปัฎฐานสูตร หมวดอิริยาบถว่า ยะถา ยะถา วา ปะนัสสะ กาโยปะณิหิโต โหติ, ตะถา ตะถา นัง ปะชานาติ กายของ (ภิกษุ/โยคี) ดำรงอยู่โดยอาการใดๆ ก็กำหนดรู้กายนั้นโดยอาการนั้นๆ (ที. มหา ๑๐/๑๐/๓๗๕/๒๔๙) การกำหนดอาการพอง-ยุบ จัดเป็นอาการที่ปรากฏในส่วนแห่งร่างกาย พร้อมกันนี้การกำหนดพอง-ยุบ ยังเป็นการกำหนดวาโยโผฏฐัพพะรูป ซึ่งอาจจะกล่าวโดยอนุโลมได้ว่าเป็นการกำหนดอานาปานโดยอ้อมเช่นเดียวกัน อีกนัยหนึ่งการกำหนดรู้อาการพอง-ยุบ เป็นการกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของธาตุลม (กุจฉิสยวาโย ลมในท้อง) พอง – ยุบ เป็นรูป จิตที่กำหนดรู้เป็นนาม ซึ่งจัดว่าเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานด้วยเช่นกัน
ความหมายของการกำหนดรู้
การกำหนด หมายถึง การเอาจิตเข้าไปจดจ่อเฝ้าดูสภาวธรรมอันปรากฏขึ้นตามความเป็นจริง ด้วยวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา โดยปราศจากการคิดนึกพิจารณาปรุงแต่ง หรือเพิ่มเติมสิ่งใดๆ ลงไปในทุกๆ ขณะที่มีการกำหนด
ขณะที่นักปฏิบัติกำหนดอาการพอง - ยุบ อาจมีอารมณ์แทรกปรากฏขึ้นชัดเจนกว่า ควรละการกำหนดอาการพอง - ยุบ ชั่วคราว จากนั้นตั้งใจกำหนดอารมณ์ที่แทรกเข้ามานั้น จนกระทั่งดับไป เสื่อมไป หรือไม่ชัดเจนแล้วจึงค่อยกลับมากำหนอาการพอง - ยุบ ต่อไป เมื่อครบตามกำหนดเวลาที่ตั้งใจจะนั่ง เช่น 5, 10, 20, 30,45,60 นาที จึงกำหนดเปลี่ยนอิริยาบถไปเดินจงกรม เพื่อปรับแต่งอิริยาบถและอินทรีย์ 5 ให้มีความสม่ำเสมอกัน
อิริยาบถนอน
การนอนกำหนด
ก. หลักการปฏิบัติสะยาโน วา สะยาโนมหีติ ปะชานาติ.
นอนอยู่ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้านอนอยู่
ข. วิธีการปฏิบัติ๑.มีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้ในอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย
๒. ขณะเอนกายลง เพื่อจะนอนพึงกำหนดว่า “เอนหนอ ๆ ๆ”
๓. ขณะที่ข้อศอก ตะโพก แผ่นหลัง ศีรษะหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสพื้น พึงกำหนดทันทีว่า “ถูกหนอๆ ๆ”
๔. ขณะที่นอนแบบตะแคงขวาหรือหงายขนานราบกับพื้นพึงกำหนดไว้ในใจว่า “นอนหนอๆ”
๕. เมื่อนอนลงไปเรียบร้อยแล้ว พึงหลับตาและเริ่มกำหนดคือเอาจิตไปจดจ่อที่อาการเคลื่อนไหว ขึ้นลงของท้องขณะท้องพองขึ้น กำหนด ว่า “พองหนอๆ ๆ” ขณะใดท้องแฟบลงกำหนดว่า “ยุบหนอ” ขณะใดท้องพองขึ้นก็กำหนดว่า “พองหนอ” หรือกำหนด นอนหนอ ถูกหนอ ตามควรแก่สภาวะ หรือระยะนั้นๆ จนกระทั่งหลับไปอย่างมีสติ เมื่อรู้สึกตัวตื่นขึ้น จึงเริ่มต้นการกำหนดอย่างต่อเนื่องต่อไป
ค.สิ่งที่พึงเว้นขณะกำหนดอาการนอน๑.นอนลืมตาหรือพยายามใช้จิตเพื่อเพ่งดูสัณฐานบัญญัติ
๒. คอยจดจ้องดูว่าจะหลับขณะที่พองหรือยุบ (จะทำให้กังวลมาก)
๓. พลิกหรือขยับตัวไปๆ มาๆ บ่อยมากเกินไป
๔.บังคับลมหายใจเข้าเพื่อกำหนดพอง บังคับลมหายใจออกเพื่อกำหนดยุบ เพราะอาจเกิดอาการเหนื่อยหอบได้ หรืออาจเป็นสาเหตุทำให้นอนไม่หลับ เกิดอาการอ่อนเพลียและเป็นอุปสรรคแก่การกำหนดในวันต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น